Metabolism คืออะไร ? เมตาบอลิซึมสูง ดีหรืออันตราย?

เมตาโบลิซึม (Metabolism) คืออะไร? เมแทบอริซึมสูงไปดีหรืออันตราย?

ทุกลมหายใจที่เราใช้ ทุกการเต้นของหัวใจ ล้วนมาจากกระบวนการเมแทบอลิซึม ดั้งนั้นการมีเมแทบอลิซึมที่ดีจึงสำคัญต่อสุขภาพโดยรวม แล้ว Metabolism ที่ดีเป็นอย่างไร ?

หัวข้อบทความ

Metabolism หรือที่เรียกกันทั่วไปในภาษาไทยว่า “เมตาบอลิซึม” หรือ “เมแทบอลิซึม” เป็นกระบวนการทางชีววิทยาที่น่าสนใจและมีบทบาทที่สำคัญอย่างมากต่อสุขภาพและระบบการทำงานต่าง ๆ ในร่างกายของเรา เมตาบอลิซึมเปรียบเสมือเตาเผาหรือเครื่องยนต์หลักที่ช่วยให้ร่างกายของเราทำงาน โดยเปลี่ยนอาหารที่เรากินให้เป็นพลังงาน และควบคุมการทำงานของร่างกายหลายอย่าง แต่จริง ๆ มีน้อยคนที่รู้ว่าเมตาบอลิซึมคืออะไร และทำงานอย่างไร? ในบทความนี้ เราจะเจาะลึกและอธิบายการทำงานว่าเมตาบอลิซึมมีอิทธิพลต่อร่างกายตั้งแต่ระดับพลังงานของเราไปจนถึงทำถามยอดฮิตเกี่ยวกับการลดน้ำหนัก

Metabolism คือ อะไร?

เมตาบอลิซึมหมายถึง กระบวนทางเคมีในร่างกายที่ช่วยให้สิ่งมีชีวิตดำเนินชีวิตอยู่ได้ บทบาทหลักของเมแทบอลิซึมคือการเปลี่ยนสารอาหารจากอาหารที่เรากินให้เป็นพลังงาน ช่วยให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายของเราทำงานได้เป็นปกติ กระบวนการเผาผลาญพลังงานนี้มีความสำคัญต่อทุก ๆ กิจกรรมในร่างกาย ตั้งแต่ระบบการทำงานหลัก เช่น ระบบการหายใจ การเคลื่อนไหว และการคิด ไปจนถึงกระบวนการเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ของเรา

กระบวนการเมตาบอลิซึม มีอะไรบ้าง:

แอแนบอลิซึม (Anabolism): เกี่ยวข้องกับการสร้างและการสังเคราะห์ โดยเป็นการนำส่วนประกอบที่มีขนาดเล็กกว่ามาสร้างเป็นโมเลกุลที่ใหญ่ขึ้น เช่น กรดนิวคลีอิกในการสร้างโปรตีน กระบวนการนี้มีส่วนสำคัญต่อการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อ การสร้างแร่ธาตุของกระดูก และการเติบโตของเซลล์

แคแทบอลิซึม (Catabolism)ในทางตรงกันข้าม คือการแตกตัว โดยแตกโมเลกุลที่ใหญ่ออกเป็นหน่วยที่เล็กลง ซึ่งกระบวนการนี้จะปล่อยพลังงานออกมา เมื่อเรากินอาหารกระบวนการแคแทบอลิซึมจะสลายโมเลกุลในอาหารเพื่อปลดปล่อยพลังงานที่สะสมอยู่ภายในทำให้ร่างกายของของเราได้นำพลังงานเหล่านี้ไปใช้ในระบบต่าง ๆ

โดยพื้นฐานแล้วแอแนบอลิซึมและแคแทบอลิซึมเป็นกระบวนการที่ตรงกันข้าม แต่ทำงานแบบเสริมสร้างกัน กระบวนการทั้งสองอย่างนี้มีความสำคัญต่อร่างกายของเราในการรักษาพลังงานและสุขภาพโดยรวม เมื่อทำงานร่วมกันจะช่วยให้ร่างกายของเราทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้และกักเก็บพลังงานตามความจำเป็น

ปัจจัยที่มีผลต่อเมตาบอลิซึม

คุณเคยสงสัยบ้างไหมว่าทำไมบางคนถึงมีการเผาผลาญสูง ? สามารถเปลี่ยนเค้กช็อกโกแลตชิ้นใหญ่ให้เป็นพลังงานได้ในพริบตา ในขณะที่บางคนแค่มองดูเค้กก็รู้สึกว่าน้ำหนักตัวเองเพิ่มขึ้นแล้ว คำตอบนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยมากมายที่มีอิทธิพลต่ออัตราการเผาผลาญ ยกตัวอย่าง เช่น อายุ พันธุกรรม อาหาร และกิจกรรมทางกายภาพ ที่มีส่งผลต่อกันทำให้เกิดรูปแบบการเผาผลาญที่แตกต่างกันออกไปสำหรับแต่ละคน

  1. อายุ: โดยทั่วไปในช่วงวัยเด็กระบบการเผาผลาญจะขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการเจริญเติบโตและพัฒนาการในช่วงวัยเด็กและวัยรุ่นต้องใช้พลังงานมากขึ้น ส่งผลให้อัตราการเผาผลาญสูงขึ้นตามธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม เมื่อเราบอกลาความเยาว์วัยและก้าวเข้าสู่วัยผู้ใหญ่อัตราการเผาผลาญก็จะค่อย ๆ ลดลง มวลกล้ามเนื้อซึ่งเป็นตัวใช้พลังงานที่สำคัญก็มีแนวโน้มที่จะลดลงตามอายุ ส่งผลให้ความต้องการพลังงานลดลง ดังนั้นเมื่อ อายุของคุณเพิ่มมากขึ้น คุณไม่ควรปล่อยตัวปล่อยใจละเลยเรื่องสุขภาพเหมือนเมื่อก่อน
  2. พันธุกรรม: บางคนสืบทอดอัตราการเผาผลาญที่สูงจากบรรพบุรุษ (เมตาโบลิซึมสูง) ในขณะที่บางคนอาจมีอัตราการเผาผลาญที่ต่ำกว่า เป็นเรื่องแปลกแต่จริงที่ยีนชุดเดียวกันสามารถสืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น และยังมีมีอิทธิพลต่อเมแทบอลิซึมและการใช้พลังงานของเรา แม้ว่าเราจะไม่สามารถเปลี่ยนรหัสพันธุกรรมของเราใหม่ได้ แต่การเข้าใจถึงอิทธิพลของพันธุกรรมสามารถช่วยให้เรามีทางเลือกเกี่ยวกับสุขภาพและไลฟ์สไตล์ของเราได้
  3. อาหาร: อาหารมีความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนกับกระบวนการเผาผลาญมากกว่าที่คุณคิด การกินและการย่อยอาหารแต่ละประเภทนั้นจะเพิ่มอัตราการเผาผลาญที่แตกต่างกันซึ่งเกิดจากความร้อนที่ได้มาจากกระบวนการย่อยอาหาร อาหารแต่ละชนิดจะมีระดับการเผาผลาญที่ไม่เท่ากัน เช่น โปรตีนต้องการพลังงานในการย่อยและแปรเปลี่ยนเป็นพลังงานมากกว่าไขมันหรือคาร์โบไฮเดรต ดังนั้นอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีนจึงสามารถกระตุ้นการเผาผลาญได้ชั่วคราว อย่างไรก็ตามพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น การรับประทานอาหารจนอิ่มเกินไปอย่างสม่ำเสมอหรือภาวะการอดอาหารโดยจำกัดปริมาณแคลอรี่ที่เคร่งครัดจนเกินไป อาจส่งผลเสีย และอาจกระทบต่อสมดุลการเผาผลาญและนำไปสู่ปัญหาสุขภาพ
  4. อาหารเสริม: สารสกัดบางชนิดช่วยกระตุ้นการทำงานของเมตาโบลิซึม เช่น อาหารเสริม SharisMeta ที่มีสารสกัดจากพริกขี้หนู (CapZfuel) และสารสกัดจากเมล็ดพริกไทย (Afperfit) ที่ช่วยกระตุ้นการเผาผลาญผ่านกระบวนการสร้างความร้อน ส่งผลให้ร่างกายเผาผลาญแคลอรีได้มากขึ้น ในทางกลับกัน สารสกัดจากเจียวกู่หลาน จะช่วยกระตุ้นเอนไซม์ AMPK ซึ่งอาจช่วยเพิ่มการเผาผลาญไขมัน แม้ว่าอาหารเสริมเหล่านี้จะส่งผลต่อการทำงานของระบบเผาผลาญ แต่ก็ควรใช้ควบคู่ไปกับวิธีการส่งเสริมสุขภาพด้านอื่น ๆ
  5. การออกกำลังกาย: ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่การออกกำลังกายจะเผาผลาญพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และยังส่งผลด้านบวกอื่น ๆ ที่มากไปกว่าการออกกำลังกาย เช่น การออกกำลังกายเป็นประจำ โดยเฉพาะการฝึกความแข็งแกร่ง (strength training) จะช่วยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อได้ เนื่องจากกล้ามเนื้อเป็นเนื้อเยื่อที่ใช้พลังงานมาก มวลกล้ามเนื้อที่มากขึ้นจะสามารถเพิ่มระดับอัตราการเผาผลาญที่สูงขึ้น แม้ว่าร่างกายของคุณกำลังพักผ่อนอยู่ก็ตาม กล่าวอีกนัยหนึ่ง การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะทำให้ร่างกายของคุณกลายเป็นเครื่องเผาผลาญพลังงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งระหว่างการออกกำลังกายและในช่วงพัก
  6. ฮอร์โมน: ฮอร์โมนเป็นส่วนสำคัญในการควบคุมเมตาบอลิซึม ตัวอย่างเช่น ฮอร์โมนไทรอยด์มีบทบาทสำคัญในการกำหนดว่าระบบการเผาผลาญพลังงานของเราจะทำงานเร็วหรือช้าเพียงใด อินซูลิน คอร์ติซอล และอะดรีนาลีน และฮอร์โมนอื่นๆ ก็รวมอยู่ในกลุ่มนี้ด้วย ซึ่งแต่ละฮอร์โมนมีอิทธิพลเฉพาะตัว และจะปรับเปลี่ยนไปตามสภาวะทางร่างกายและอารมณ์ที่แตกต่างกัน ตั้งแต่ความเครียดไปจนถึงความอิ่ม
  7. การนอนหลับ: การนอนหลับมักถูกมองข้าม แต่กับเป็นอีกมิติที่สำคัญ การนอนไม่ใช่แค่การพักผ่อนแต่เป็นกระบวนการสำคัญในการฟื้นฟูและปรับความสมดุลให้กับร่างกาย การอดนอนเป็นประจำอาจรบกวนจังหวะการทำงานของฮอร์โมน โดยเฉพาะอินซูลินและคอร์ติซอล ส่งผลให้ประสิทธิภาพการเผาผลาญลดลง พูดง่ายๆ ก็คือ ร่างกายที่อดนอนอาจเผาผลาญพลังงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ส่งผลให้น้ำหนักเพิ่มง่ายขึ้น และ ส่งผลกระทบต่อกระบวนการเมแทบอลิซึมในด้านอื่น ๆ คุณควรมีคุณภาพการนอนที่ดีและนอนให้ได้อย่างน้อย 7- 9 ชั่วโมงต่อคืน เพื่อเมแทบอลิซึมที่ดี
  8. โรคประจำตัว: เป็นการเพิ่มความซับซ้อนให้กับกระบวนการเมแทบอลิซึม เช่น ภาวะไทรอยด์ต่ำสามารถลดอัตราการเผาผลาญ ในทางตรงกันข้ามภาวะไทรอยด์สูงจะเร่งการเผาผลาญ ภาวะเมแทบอลิกซินโดรมหรือภาวะที่เกิดจากการเผาผลาญอาหารของร่างกายที่ผิดปกติ และความผิดปกติทางพันธุกรรมบางอย่างส่งผลต่ออัตราการเผาผลาญ
  9. สภาพแวดล้อม: อุณหภูมิมีผลกระทบโดยตรงต่อระบบเมแทบอลิซึม สภาพแวดล้อมที่เย็นสามารถเร่งการเผาผลาญได้เนื่องจากร่างกายของเราต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อรักษาอุณหภูมิร่างกายโดยรวม สิ่งนี้เห็นได้ชัดจากปรากฏการณ์ ‘การกระตุ้นให้ร่างกายการสร้างความร้อนด้วยความเย็น’ ในสภาวะที่หนาวเย็นสามารถกระตุ้นการทำงานของไขมันสีน้ำตาล ซึ่งเป็นไขมันชนิดหนึ่งที่เผาผลาญพลังงานเพื่อผลิตความร้อน ในทางกลับกัน สภาพอากาศที่ร้อนจัดก็สามารถเพิ่มระดับการเผาผลาญได้เช่นกัน ถึงแม้ว่าจะเป็นเหตุผลที่ตรงข้ามกัน เนื่องจากร่างกายของเราพยายามทำให้ร่างกายเย็นลง

ถึงแม้ว่าจะมีปัจจัยบางอย่างที่คุณไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ เช่น อายุ พันธุกรรม แต่ก็มีอีกหลายหลายปัจจัยที่คุณสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคุณได้ เช่นการกินอาหารที่มีประโยชน์รวมไปถึงอาหารเสริม นอนหลับให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเหล่านี้ช่วยให้คุณมีเมแทบอลิซึมที่ดีได้และยังช่วยให้คุณมีสุขภาพที่ดีได้ด้วยเช่นกัน

Metabolism และการลดน้ำหนักเกี่ยวกันอย่างไร?

โดยแก่นแท้แล้วกระบวนการเผาผลาญนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสมดุล ตั้งแต่แคลอรี่ที่เผาผลาญไปในการย่อยอาหาร ไปจนถึงแคลอรี่ที่ใช้ระหว่างวิ่งจ็อกกิ้งตอนเช้า และยังรวมไปถึงกระบวนการต่าง ๆ ภายในร่างกายที่มองไม่เห็น เช่น การแบ่งเซลล์ ล้วนต้องใช้พลังงานและพลังงานเหล่านี้มาจากอาหารที่เรากิน โดยหลักการแล้วแคลอรี่ที่อยู่ในมื้ออาหารของเรานั้นเป็นหน่วยพลังงาน และเมตาบอลิซึมของเราจะตัดสินว่าหน่วยพลังงานเหล่านี้ถูกใช้ไปอย่างไร

ทีนี้ ลองนึกถึงวันที่คุณบริโภคแคลอรี่มากกว่าที่ร่างกายใช้ ในสถานการณ์นี้ร่างกายจะปรับการทำงานโดยไม่ปล่อยให้แคลอรีส่วนเกินเหล่านี้สูญเปล่า โดยส่วนใหญ่จะแปลเปลี่ยนเก็บไว้เป็นไขมัน เมื่อวันเวลาผ่านไปและคุณยังมีพฤติกรรมแบบนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง แคลอรีส่วนเกินนี้จะสะสมมากยิ่งขึ้นทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น ในทางกลับกันวันไหนที่คุณบริโภคแคลอรี่น้อยกว่าที่คุณเผาผลาญ ร่างกายจะดึงพลังงานสำรองที่เก็บไว้มาใช้เป็นพลังงาน ยิ่งมีจำนวนวันติดต่อกันหลาย ๆ วันก็จะส่งผลให้น้ำหนักลดลง คุณจะเห็นได้ว่าหัวใจของความสมดุลนี้อยู่ที่เมตาบอลิซึมซึ่งเป็นตัวกำหนดอัตราการ เผาผลาญและผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น

เมตาบอลิซึมสูง คืออะไร? เมตาบอลิซึมสูง ดีไหม?

เมตาบอลิซึมสูง คือ การที่คุณมีอัตราการเผาผลาญที่สูง หรือหมายความว่าร่างกายสามารถเปลี่ยนอาหารไปเป็นพลังงานได้อย่างรวดเร็ว เมตาบอลิซึมที่สูงจะส่งผลต่อการสุขภาพและมีผลโดยตรงต่อการควบคุมน้ำหนัก โดยรวมแล้วเมตาบอลิซึมสูงนั้นส่งผลที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่า อย่างไรก็ตามคุณควรรู้ว่ามีผลเสียอย่างไรบ้าง

เมตาบอลิซึมสูงข้อดี

  1. การควบคุมน้ำหนัก: อัตราการเผาผลาญที่สูงสามารถช่วยให้คุณเผาผลาญแคลอรีได้มากขึ้นในช่วงที่ร่างกายกำลังพักผ่อน ซึ่งจะช่วยให้ควบคุมน้ำหนักหรือลดน้ำหนักได้ง่ายขึ้น คนที่มีเมตาบอลิซึมสูงยังมีโอกาสน้อยในการเก็บไขมันส่วนเกินไว้ในร่างกายซึ่งมีประโยชน์อย่างยิ่งในการป้องกันโรคอ้วน
  2. ระดับพลังงาน: บุคคลที่มีระบบเผาผลาญสูงมักจะมีพลังงานมากขึ้นและอาจรู้สึกตื่นตัวและกระฉับกระเฉงตลอดทั้งวันและยังสามารถออกกำลังกายได้มากขึ้นและนานขึ้นกว่าปกติ
  3. การดูดซึมสารอาหาร: การเผาผลาญที่เร็วขึ้นสามารถช่วยให้ร่างกายของคุณใช้สารอาหารจากอาหารที่คุณกินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  4. สมรรถภาพทางกายที่เพิ่มขึ้น: นักกีฬาและบุคคลที่แอคทีฟมักจะได้รับประโยชน์จากการเผาผลาญที่สูงขึ้น เนื่องจากมีการให้พลังงานขณะเผาผลาญที่สูงกว่าเมื่อออกกำลังกายและการเล่นกีฬา
  5. ความไวของอินซูลินที่ดีขึ้น: การศึกษาบางชิ้นชี้ให้เห็นว่าอัตราการเผาผลาญที่สูงขึ้นอาจเกี่ยวข้องกับความไวของอินซูลินที่ดีขึ้น ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงของโรคเบาหวานประเภท 2
  6. การป้องกันโรค: เมตาบอลิซึมสูงสามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคอื่น ๆ ได้ เมตาบอลิซึมสูงอาจช่วยให้ร่างกายทำงานได้ดีขึ้นและมีโอกาสน้อยในการเป็นโรคหรือภาวะที่เกี่ยวกับการเผาผลาญพลังงาน

เมตาบอลิซึมสูงข้อเสีย

  1. หิวง่ายกว่าปกติ: บุคคลที่มีระบบเผาผลาญสูงมากอาจต้องรับประทานอาหารบ่อยขึ้นเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการแคลอรี่ของร่างกาย
  2. ควบคุมน้ำหนัก(เพิ่ม)ได้ยาก: หากคุณมีระบบเผาผลาญที่สูงมากและบริโภคแคลอรี่ได้ไม่เพียงพอ การเพิ่มน้ำหนักหรือคุมน้ำหนักอาจเป็นเรื่องยาก ซึ่งอาจไม่ใช่เรื่องดีสำหรับผู้ที่ต้องการเพิ่มกล้ามเนื้อหรือฟื้นตัวจากการเจ็บป่วย
  3. การขาดสารอาหาร: เมื่อคุณมีอัตราการเผาผลาญสูง ร่างกายก็สามารถเผาพลาญสารอาหารได้สูงขึ้นเช่นกัน เพราะเหตุนี้ร่างกายจึงต้องการสารอาหารที่จำเป็นมากขึ้นไปด้วย หากคุณไม่ได้เติมสารอาหารเหล่านี้อย่างเพียงพอผ่านการรับประทานอาหาร อาจส่งผลให้เกิดการขาดสารอาหาร
  4. โอกาสบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา: นักกีฬาที่มีอัตราการเผาผลาญสูงมากอาจต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษกับการฟื้นตัวและการป้องกันการบาดเจ็บ เนื่องจากมักจะมีการใช้พลังงานในอัตราที่สูงมากขณะที่ออกกำลังกายอย่างหนักและอาจะมีการฝึกซ้อมที่หักโหมจนเกินไปเพราะได้รับพลังงานจากการเผาผลาญได้มากกว่าคนปกติ

บทสรุป

ทุกลมหายใจที่เราใช้ ทุกการเต้นของหัวใจ และทุกความคิดที่เราเพลิดเพลินล้วนได้รับการสนับสนุนจากกระบวนการเผาผลาญ กระบวนการเปลี่ยนแปลงพลังงานที่ละเอียดอ่อนนี้เปลี่ยนอาหารที่เราบริโภคให้เป็นพลังงาน กระตุ้นการเจริญเติบโต ช่วยในการซ่อมแซม และจัดการของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ ประโยชน์ของระบบเผาผลาญที่ดีต่อสุขภาพนั้นมีมากมาย ตั้งแต่ระดับพลังงานที่ได้รับไปจนถึงความสามารถในการฟื้นตัวต่อโรคต่างๆ โดยพื้นฐานแล้ว การทำความเข้าใจและการดูแลระบบการเผาผลาญของเรานั้นเป็นเหมือนกับการดูแลสุขภาพองค์รวมของความเป็นอยู่ที่ดีของเรา ซึ่งเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความเชื่อมโยงอย่างลึกซึ้งของกระบวนการต่าง ๆ ในร่างกาย

อ้างอิง

CTG labs – NCBI. (n.d.). https://clinicaltrials.gov/study/NCT03907540
Metabolism and weight loss: How you burn calories. (2022, October 8). Mayo Clinic. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/weight-loss/in-depth/metabolism/art-20046508
Image by wayhomestudio on Freepik