4 วิธีตรวจเทโลเมียร์ ค้นหาอายุเซลล์ที่แท้จริง

ตรวจเทโลเมียร์

จะดีไหมถ้าคุณสามารถมองเข้าไปในเซลล์ของคุณแล้วดูว่าเซลล์พูดถึงสุขภาพของคุณอย่างไร? การตรวจเทโลเมียร์จะช่วยให้คุณเห็นอายุเซลล์ของคุณ และช่วยเป็นแนวทางในการรักษาสุขภาพของคุณต่อไปในอนาคต บทความนี้จะให้ความกระจ่างเกี่ยวกับขั้นตอนวิธีตรวจเทโลเมียร์ แนะนำศูนย์ตรวจเทโลเมียร์ และโรงพยาบาลที่มีบริการตรวจเทโลเมียร์ ในไทย

หัวข้อบทความ

เทโลเมียร์คืออะไร? ทำไมต้องตรวจเทโลเมียร์

ลองนึกภาพ: โครโมโซมแต่ละตัวในร่างกายของคุณเปรียบเสมือนเชือกผูกรองเท้า และที่ปลายเชือกผูกรองเท้านั้นมีฝาพลาสติกขนาดเล็กป้องกันที่เรียกว่า “เทโลเมียร์” (Telomere) มีหน้าที่หลักคือป้องกันโครโมโซมเสื่อมสภาพ ระหว่างการจำลองเซลล์ หรือเรียกว่าช่วยทำให้เซลล์ทำงานได้อย่างสมบูรณ์ เช่นเดียวกับเชือกผูกรองเท้าที่หลุดลุ่ยที่สามารถบอกเล่าเรื่องราวได้จากร่องรอยของการสึกหรอว่าผ่านการใช้งานมามากแค่ไหน ความยาวของเทโลเมียร์นั้นสามารถบอกเล่าเรื่องราวที่ซับซ้อนเกี่ยวกับอายุของเซลล์ ความอ่อนแอต่อโรคต่าง ๆ และยังอาจประเมิณเวลาที่เหลืออยู่ในนาฬิกาชีวภาพ (Biological age) ของคุณได้อีกด้วย การตรวจวิเคราะห์เทโลเมียร์ไม่ได้เป็นเพียงแฟชั่นทางการแพทย์เท่านั้น แต่ยังเป็นความรู้ใหม่ที่ช่วยให้เราสามารถเข้าใจสภาพของมนุษย์ได้ดีขึ้น

วิธีตรวจเมโลเมียร์

ในปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์นั้นมีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจึงพึ่งพาเครื่องมือวินิจฉัยในการตรวจ Telomere นี้มากขึ้นเพื่อพัฒนากลยุทธ์การรักษาเทโลเมียร์และฟื้นฟูให้ได้ผลตรงจุดมากที่สุด ในสถานพยาบาล การตรวจวิเคราะห์ความยาวเทโลเมียร์นั้นใช้เทคนิคเฉพาะทางชั้นสูง เช่น การวิเคราะห์ส่วนจำกัดเทโลเมียร์ (TRF), PCR เชิงปริมาณ และการวิเคราะห์ความยาวเทโลเมียร์เดี่ยว (STELA) แต่ละวิธีมีข้อดีและระดับความแม่นยำของตัวเอง แต่ทั้งหมดมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้คุณมีความเข้าใจว่าสุขภาพระดับของเซลล์ของคุณเป็นอย่างไร

Telomere Restriction Fragment (TRF) Analysis

ลองจินตนาการว่าคุณเป็นนักเก็บเอกสารที่มีม้วนหนังสือโบราณอยู่ในห้อง ซึ่งแต่ละม้วนจะต้องคลี่ วัด และวิเคราะห์อย่างรอบคอบ นั่นคือสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ทำในการวิเคราะห์แบบ TRF โดยใช้ DNA ของคุณ วิธีนี้เกี่ยวข้องกับการใช้เอนไซม์พิเศษที่ทำหน้าที่ตัด DNA ของคุณออกเป็นส่วน ๆ และปรับขนาดโดยใช้กระบวนการที่เรียกว่าอิเล็กโตรโฟรีซิส จากนั้นจะมีการจัดทำรายงานโดยละเอียดซึ่งเกือบจะเหมือนกับการใช้ไม้บรรทัดวัดเทโลเมียร์ของคุณแล้วทำรายงานสรุป

ข้อดี / ข้อด้อย:

ข้อดี
แม่นยำสูง: การวิเคราะห์ TRF มักถูกเรียกว่ามาตรฐานหลักสำหรับการวัดเทโลเมียร์ซึ่งเป็นนิยมใช้มาเป็นระยะเวลานานแล้ว

การวัดค่าที่ครอบคลุม: นี่ไม่ใช่แค่การดูอายุเซลล์ของคุณอย่างคร่าว ๆ เท่านั้น แต่เป็นภาพพาโนรามาที่มีรายละเอียดครบถ้วนสมบูรณ์ โดยให้ความยาวเทโลเมียร์โดยเฉลี่ยตลอดเซลล์ต่างๆ ซึ่งช่วยให้มองเห็นลำดับเวลาทางชีวภาพของคุณจากมุมสูง

จุดด้อย:
ใช้เวลานาน: การวิเคราะห์ TRF ต้องใช้ระยะเวลา โดยต้องใช้การวิเคราะห์และความแม่นยำในทุกขั้นตอน

ใช้ทรัพยากรสูง: วิธีการนี้ต้องใช้ตัวอย่างเซลล์และอุปกรณ์พิเศษที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้จะมีอยู่ที่ห้องปฏิบัติการขนาดใหญ่เท่านั้น

Quantitative PCR

Quantitative PCR เป็นวิธีที่ได้ผลลัพทธ์รวดเร็วที่สุดในบรรดาการตรวจเทโลเมียร์ โดยทำการโคลน DNA ของคุณ เพื่อให้มีชุดข้อมูลขนาดใหญ่เพียงพอที่จะใช้งานได้ ด้วยวิธีการที่เรียกว่าปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอเรส (PCR) DNA ของคุณจะถูกขยายเพื่อสร้างสำเนาหลายชุด จากนั้นจึงวิเคราะห์เพื่อประมาณความยาวของเทโลเมียร์ วิธีการตรวจนี้เป็นวิธีที่ โรงพยาบาลส่วนใหญ่ในประเทศไทยนิยมใช้และยังมีราคาที่เข้าถึงได้

ข้อดี / ข้อด้อย:

ข้อดี:
ความเร็ว: หากการวิเคราะห์แบบ TRF เป็นอาหารชั้นเลิศที่เน้นความปราณีต PCR เชิงปริมาณจะเป็นอาหารจานด่วน—รวดเร็วและสะดวก
ใช้ตัวอย่างน้อย: เนื่องจากต้องการเซลล์น้อยลงในการทดสอบ จึงเป็นการทดสอบเทโลเมียร์ที่ประหยัด

จุดด้อย:
แม่นยำน้อยลง: อาหารจานด่วนมีรสชาติอร่อยแต่ไม่จำเป็นต้องเป็นอาหารรสเลิศ ความเร็วต้องแลกมาด้วยความแม่นยำ
มุมมองที่จำกัด: แม้ว่า PCR จะบอกคุณถึงความยาวโดยเฉลี่ย แต่ก็อาจมองข้ามค่าผิดปกติหรือเทโลเมียร์ที่ยาวหรือสั้นผิดปกติซึ่งอาจมีความสำคัญต่อความเข้าใจด้านสุขภาพเซลล์ของคุณอย่างละเอียด


Single Telomere Length Analysis (STELA)

สุดท้ายนี้ เรามาเจาะลึก STELA ซึ่งเป็นเทคนิคการวัดเทโลเมียร์ที่แม่นยำที่สุด ถ้า Quantitative PCR เป็นปืนลูกซอง STELA ก็คือปืนไรเฟิลซุ่มยิง เพราะการตรวจวิธีนี้ไม่ได้บอกแค่ค่าเฉลี่ยเท่านั้น แต่แสดงค่าของเทโลเมียร์ของแต่ละตัวกันเลยทีเดียว

ข้อดี / ข้อด้อย:

ข้อดี:
ความแม่นยำ: ถ้าคุณต้องการวิเคราะห์เทโลเมียร์แต่ละตัวโดยละเอียดเหมือนช่างทำอัญมณีที่ตรวจสอบเพชร STELA คือวิธีการที่มีความละเอียดมากที่สุด
ข้อมูลโดยละเอียด: หากคุณต้องการรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของเทโลเมียร์ระหว่างโครโมโซมแต่ละตัว

จุดด้อย:
ต้องการผู้มีความเชี่ยวชาญ: จำเป็นต้องมีบุคคลากรเฉพาะทางที่เชี่ยวชาญ
ใช้ทรัพยากรมาก: STELA ต้องใช้อุปกรณ์เฉพาะทางและยังต้องอาศัยความเชี่ยวชาญในการตรวจสอบทำให้ไม่เป็นที่นิยม

Fluorescent In Situ Hybridization (FISH)

Fluorescent In Situ Hybridization หรือ FISH เป็นเหมือนคนส่องสปอตไลท์ไปยังนักแสดงในโรงละครเวที โดยเลือกฉายแสงฟลูออเรสเซนต์ไปที่เทโลเมียร์เหล่านั้น พูดง่ายๆ ก็คือ นักวิทยาศาสตร์ติดหัววัดฟลูออเรสเซนต์ที่จับกับเทโลเมียร์โดยเฉพาะ ทำให้มองเห็นได้ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ ข้อดีของวิธีนี้คือช่วยให้เราเห็นความยาวของเทโลเมียร์ในบริบทของเซลล์ได้ ณ ตำแหน่งที่เซลล์อาศัยอยู่

ข้อดี / ข้อด้อย:

ข้อดี:
การทำความเข้าใจในบริบท: แม้ว่าวิธีการอื่นๆ จะดึงเทโลเมียร์ออกจากบริบทตามธรรมชาติมาวิเคราะห์ แต่ FISH จะช่วยให้คุณมองเห็นพวกเทโลเมียร์ที่อยู่ภายในโครโมโซม วิธีนี้เหมาะสำหรับการศึกษาที่ต้องเข้าใจความยาวของเทโลเมียร์โดยสัมพันธ์กับตำแหน่งโครโมโซมหรือโครงสร้างทางพันธุกรรมที่อยู่ใกล้เคียง
การมองเห็น: FISH ไม่เพียงแต่ตรวจวัดเท่านั้น แต่ยังแสดงภาพเทโลเมียร์อีกด้วย ทำให้คุณได้เห็นถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในระดับเซลล์ รูปภาพจากการศึกษา วิเคราะห์มักจะถูกนำไปใช้ในวารสารวิชาการ ทำให้วิธีนี้เป็นที่ชื่นชอบในหมู่นักวิจัย

จุดด้อย:
การพึ่งพากล้องจุลทรรศน์: วิธีนี้ใช้ได้กับกล้องจุลทรรศน์เท่านั้น และอุปกรณ์สร้างภาพที่มีความละเอียดสูง
เน้นทักษะ: การเตรียมสไลด์ การปรับแต้งกล้องจุลทรรศน์ และการตีความผลลัพธ์ต้องใช้ทักษะเฉพาะทางสูง

การแปลผลการตรวจวัด เทโลเมียร์

ค่าความยาวเทโลเมียร์ที่สูงมาก

หากคุณพบว่าความยาวเทโลเมียร์ของคุณ “สูงมาก” แสดงว่าคุณมาถูกทางแล้ว อย่างน้อยก็ในระดับเซลล์ เทโลเมียร์ที่ยาวขึ้นมักเกี่ยวข้องกับความอ่อนเยาว์ของเซลล์ และอาจบ่งบอกถึงอายุที่ยืนยาวขึ้นด้วยซ้ำ อย่างไรก็ตาม คุณไม่ควรมองข้ามตัวชี้วัดด้านสุขภาพอื่น ๆ หรือเลือกใช้ชีวิตแบบสุ่มเสี่ยงต่อสุขภาพของคุณ

คุณควรทำอย่างไรต่อไป?:

สร้างนิสัยที่ดีต่อไป: ให้ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทางอาหารที่สมดุล และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
ตรวจสุขภาพประจำปี: การที่เทโลเมียร์ของคุณอยู่ในสภาพดีไม่ได้หมายความว่าคุณควรข้ามการตรวจสุขภาพประจำปี
พัฒนาสุขภาพจิต: เลือกกิจกรรมที่ช่วยยกระดับจิตใจ เช่นการทำสมาธิ ซึ่งจะช่วยเสริมสุขภาพทั้งด้านจิตใจและร่างกายของคุณ

ค่าความยาวเทโลเมียร์สูง

เทโลเมียร์ยาว คือ ตัวบ่งชี้เชิงบวกว่าเซลล์ของคุณอ่อนเยาว์ทำงานได้อย่างสมบูรณ์และอาจบ่งชี้ถึงสุขภาพเซลล์ที่ดี แต่คุณก็ไม่ควรละเลย พฤติกรรมเชิงบวกต่อสุขภาพด้านอื่นๆ ของคุณ

คุณควรทำอย่างไรต่อไป?:

การออกกำลังกายระดับปานกลาง: ออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อรักษาสมรรถภาพการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด
รับประทานอาหารที่สมดุล: เพิ่มผัก ผลไม้ และโปรตีนไร้มันมากขึ้นเพื่อให้แน่ใจว่าได้รับอาหารที่หลากหลาย
การจัดการความเครียด: หากคุณจัดการกับความเครียดอย่างมีประสิทธิภาพ จะช่วยรักษาระดับเทโรเมียร์ให้อยู่ในระดับสูงได้ ลองพิจารณาการฝึกสติ เช่น การทำสมาธิ

ค่าความยาวเทโลเมียร์ปกติ

ความยาวเทโลเมียร์ “ปกติ” คือสิ่งที่คนส่วนใหญ่ตรวจพบ คุณไม่จำเป็นต้องตื่นเต้นหรือนิ่งเฉย แต่หมายความว่าคุณควรตัดสินใจเริ่มปรับปรุงการใช้การชีวิตเชิ่งบวกเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นในอนาคตได้แล้ว

คุณควรทำอย่างไรต่อไป?:

การออกกำลังกายเป็นประจำ: ตั้งเป้าออกกำลังกายระดับปานกลางอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์
รับประทานอาหารเสริม: ปรึกษาแพทย์ของคุณเกี่ยวกับอาหารเสริมที่อาจช่วยฟื้นฟูสุขภาพของเซลล์ เช่น สารต้านอนุมูลอิสระ หรือ Telos95
ตรวจสุขภาพประจำปี: การตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปีอาจช่วยตรวจพบปัญหาที่สุขภาพเกิดขึ้นได้ตั้งแต่เนิ่นๆ

ค่าความยาวเทโลเมียร์ต่ำ

เทโลเมียร์สั่น คือ เซลล์ของคุณกำลังเสื่อมสภาพ หรือ”แก่ก่อนวัย” โดยส่วนมากมักเกี่ยวข้องกับเซลล์ที่เริ่มแก่ชราและอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวัย อย่างไรก็ตามการวินิจฉัยเป็นเพียงแค่การแจ้งเตือนให้คุณตรวจสอบสุขภาพเพิ่มเติม

คุณควรทำอย่างไรต่อไป?:

การเปลี่ยนแปลงด้านอาหาร: เลือกรับประทานอาหารที่ต้านการอักเสบที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ หรือเลือกรับประทานอาหารเสริม
ปรับการออกกำลังกาย: เพิ่มการออกกำลังกายที่กระฉับกระเฉงมากขึ้นในกิจวัตรของคุณเพื่อเพิ่มสุขภาพของเซลล์
การจัดการความเครียด: ใช้กลยุทธ์บรรเทาความเครียด เช่น นั่งสมาธิ โยคะ หรือเข้าปรึกษาจิตแพทย์

ค่าความยาวเทโลเมียร์ต่ำมาก

ความยาวเทโลเมียร์ที่ต่ำมากเป็นสัญญาณอันตรายที่บ่งบอกว่าคุณจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินชีวิตโดยทันที และอาจถึงขั้นต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ อาจเป็นเพราะระดับความเครียดสะสมเรื้อรัง พฤติกรรมโภชนาการที่ไม่ดี หรือปัญหาด้านสุขภาพที่ซ่อนอยู่

คุณควรทำอย่างไรต่อไป?:

รับคำปรึกษาทางการแพทย์ทันที: คุณควรขอคำแนะนำทางการแพทย์เพื่อการรักษาที่ตรงประเด็นและรับการวินิจฉัยเพิ่มเติมเพื่อดูถึงสาเหุตที่ของปัญหาด้านสุขภาพที่แท้จริง
ปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์: จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่สำคัญ ๆ เช่น เลิกสูบบุหรี่ ลดปริมาณแอลกอฮอล์ และรับประทานอาหารที่สมดุลและมีคุณค่าทางโภชนาการ
พัฒนาด้านสุขภาพจิต: ความเครียดทางอารมณ์และจิตใจอาจส่งผลต่อความยาวของเทโลเมียร์สั่นเร็วขั้น ถ้าคุณรู้สึกว่ามีปัญหาทางอารมณ์ มีกังวล รู้สึกซึมเศร้า คุณควรเข้ารับการบำบัดความเครียด หรือรับคำปรึกษาจากจิตแพทย์

ตรวจเทโลเมียร์ ราคาเท่าไหร? ตรวจที่ไหนได้บ้าง?

โรงพยาบาลที่มีบริการตรวจเทโลเมียร์

โรงพยาบาลสมิติเวช มีบริการตรวจเทโลเมียร์ ราคาอยู่ที่ 10,000 บาท โดยใช้วิธี TRF analysis โดยบริการนี้สามารถตรวจวัดความยาวของเทโลเมียร์ในเซลล์เม็ดเลือดขาวของผู้เข้ารับการตรวจ โดยใช้ตัวอย่างเลือดจากปลายนิ้ว โทรสอบถามข้อมูลได้ที่ เบอร์โทร 02-022-2222
ลิงค์ดูรายละเอียด คลิก

โรงพยาบาลพญาไท มีบริการตรวจเทโลเมียร์ ราคาอยู่ที่ 11,000-13,000 บาท โดยใช้วิธี TRF analysis โดยบริการนี้สามารถตรวจวัดความยาวของเทโลเมียร์โดยเซลล์เม็ดเลือดขาวของผู้เข้ารับการตรวจ โดยใช้ตัวอย่างเลือดจากปลายนิ้ว กรุณานัดหมายล่วงหน้าก่อนเข้ารับการตรวจ ได้ที่ Call Center : 1772
ลิงค์ดูรายละเอียด คลิก

ศูนย์ตรวจเทโลเมียร์

ศูนย์วินเซลล์ รีเซิร์ช ให้บริการตรวจสอบความยาวเทโลเมียร์โดยใช้วิธี flow FISH ราคา 15,000 บาท โทรสอบถามข้อมูล โทร 095-924-6223

Bangkok Genome Center ให้บริการตรวจสอบความยาวเทโลเมียร์โดยใช้วิธี flow FISH ราคา 16,005 บาท (จำนวน 2 ครั้ง) โทรสอบถามได้ที่เบอร์ 094-616-6878
ลิงค์ดูรายละเอียด คลิก

***หมายเหตุ: นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของบริการตรวจเทโลเมียร์ในประเทศไทย ราคาค่าตรวจเทโลเมียร์อาจมีการเปลี่ยนแปลง แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับวิธีการตรวจ ห้องปฏิบัติการ ค่าตรวจ และค่าธรรมเนียมอื่น ๆ กรุณาตรวจสอบรายละเอียดกับผู้ให้บริการอีกครั้ง

บทสรุป

การเข้าใจความยาวของเทโลเมียร์ก็เหมือนกับการถือกระจกไว้ที่เซลล์ สิ่งที่คุณเห็นอาจเป็นสัญญาณเตือนหรือเป็นการถอนหายใจด้วยความโล่งอก อย่างไรก็ตามการรับรู้เรื่องราวสุขภาพในระดับเซลล์เป็นสิ่งที่มีค่า ความยาวของเทโลเมียร์ไม่ได้กำหนดตัวคุณ แต่สามารถนำทางคุณได้ โดยให้คำแนะนำเกี่ยวกับสิ่งที่คุณต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้มีชีวิตที่ดีขึ้น มีสุขภาพที่ดีขึ้นและอาจมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น และท้ายที่สุดแล้ว นั่นคือสิ่งที่เราต้องการมิใช่หรือ?

แหล่งอ้างอิง

Wincell Research. (2021, February 8). Telomere length – wincellresearch.com. https://www.wincellresearch.com/telomere-length/

Mender, I., & Shay, J. W. (2015). Telomere Restriction Fragment (TRF) analysis. Bio-protocol, 5(22). https://doi.org/10.21769/bioprotoc.1658

Shakoori, A. R. (2017). Fluorescence In Situ Hybridization (FISH) and Its Applications. In Springer eBooks (pp. 343–367). https://doi.org/10.1007/978-81-322-3673-3_16

Image by Freepik